
เชื่อว่าทุกคนที่นำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงไว้ดูเล่น หรือนำสุนัขมาเลี้ยงไว้เพื่อช่วยดูแลทรัพย์สิน ต้องเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็กๆ เหตุผลส่วนหนึ่งเพราะความน่ารักน่าเอ็นดูของเจ้าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้น แต่เมื่อเลี้ยงดูจนโตขึ้นอายุขัยของสัตว์เลี้ยง อย่างเช่น สุนัข ที่มีอายุยืนยาวมากกว่า 10 ปี ความน่ารักน่าเอ็นดูก็จะหมดไปและอาจกลายเป็นภาระให้กับคนเลี้ยง หากไม่เรียนรู้วิธีดูแลสุนัขอายุมากอย่างเข้าใจ
สัญญาณบ่งบอกและพฤติกรรมของสุนัขแก่
อายุของสุนัขเมื่อเปรียบเทียบกับอายุของคนจะห่างกัน 7 เท่า หากอายุขัยของสุนัขเท่ากับ 10 ปีก็จะเทียบเท่าคนแก่อายุ 70 ปี ส่วนสัญญาณบ่งบอกว่าสุนัขตัวนั้นเริ่มแก่จะมีพฤติกรรมแสดงออกให้เรารู้ได้ ดังนี้
1.ฟันจะเริ่มผุ หรือหัก
2.ตาเริ่มฝาง มองเห็นไม่ชัดเจนทำให้ชอบเห่าโดยไม่มีสาเหตุ
3.หูไม่ค่อยได้ยิน ทำให้ไม่ได้ยินคำสั่งหรือไม่ค่อยตอบสนองคำสั่งของคนเลี้ยง
4.ขนบริเวณใบหน้าหรือรอบปากเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาว
5.กินอาหารน้อยลง ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการนอน
6.เดินช้า ไม่วิ่ง ชอบนั่งหรือนอนนิ่งๆโดยไม่เปลี่ยนอิริยบท หรือเดินวนไปวนมาอยู่ที่เดิม
7.หลงลืม อีฉี่ไม่เป็นที่ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเหมือนปกติได้
วิธีดูแลสุนัขที่มีอายุมาก
1.ดูแลเรื่องโภชนาการ สุนัขแก่ฟันจะผุและหัก ทำให้ต้องกินอาหารอ่อนๆ
2.สุนัขแก่จะกินอาหารได้น้อยลง คนเลี้ยงต้องปรับสัดส่วนอาหารต่อมื้อให้เหมาะสมกับความต้องการ
3.สุนัขแก่ควรกินอาหารวันละ 2 เวลา ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรให้กินอาหารมากเกินไปเพราะระบบย่อยอาหารจะทำงานหนักซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของสุนัขที่มีอายุมากๆ
4.อาหารสุนัขแก่ ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงการให้อาหารประเภทที่มีน้ำตาล และไขมัน
5.ดูแลเรื่องสุขภาพ ควรพาสุนัขเดินออกกำลังกายหรือเดินเล่นตามสวนสาธารณะ โดยเดินเล่นในระยะใกล้ๆ ทำให้ได้ออกทั้งกำลังกาย เป็นการบริหารกล้ามเนื้อ และได้ผ่อนคลายจากสภาพแวดล้อมและอากาศที่ปลอดโปร่ง
6.สำหรับสุนัขที่แก่มาก เดินไม่ได้ควรทำกายภาพบำบัด ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดตัวทำความสะอาดขน เช็ดขนบริเวณใบหน้า ทำให้สุนัขรู้สึกผ่อนคลายและยังทำให้สุนัขได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การมีสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเล่นหรือเพื่อนคลายเหงา ช่วงเล็กๆ อาจมีความน่ารักน่าเอ็นดูทำให้คนเลี้ยงรักและเอาใจใส่ ส่วนสุนัขที่เริ่มอายุมากอาจหมดความน่ารักและยังอาจเป็นภาระให้กับผู้เลี้ยงดู ดังนั้น ก่อนเลี้ยงต้องมั่นใจและถามตัวเองก่อนว่าพร้อมที่จะเลี้ยงดูและดูแลสุนัขไปตลอดอายุขัยหรือไม่